สถานตากอากาศบางปู อยู่ในเขตตำบลบางปูใหม่ ริมถนนสุขุมวิท ประมาณกิโลเมตรที่ 37 ตรงข้ามกับนิคมอุตสาหกรรมบางปู ห่างจากตัวเมืองประมาณ 11 กิโลเมตร เป็นสถานตากอากาศที่มีชื่อเสียงมาเป็นเวลานาน และเป็นสถานพักฟื้น พักผ่อน ของกรมพลาธิการทหารบก ภายในมีร้านอาหารบริการ ในวันเสาร์ตั้งแต่เวลา 17.00 – 21.00 น. จะมีกิจกรรมพิเศษเปิดฟลอร์ลีลาศกับเสียงเพลงสุนทราภรณ์อันไพเราะ โดยคิดค่าดนตรีภายในฟลอร์ลีลาศเพียงคนละ 50 บาท นอกจากนี้ในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงปลายเดือนเมษายน บริเวณบางปูจะมีนกนางนวลอพยพ มาหากินอยู่ตามชายทะเล เหมาะที่จะมาเที่ยวชมในยามเย็นพร้อมกับชมพระอาทิตย์อัสดง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2323 9138, 0 2323 9983
การเดินทาง จากสามแยกสมุทรปราการให้เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสุขุมวิท (สายเก่า) ประมาณกิโลเมตรที่ 37 ให้กลับรถจะพบสถานตากอากาศบางปูอยู่ริมถนนซ้ายมือ และรถโดยสารปรับอากาศ สาย ปอ. 25, 102, 142, 142, 507, 508 และ 511 รถโดยสารประจำทางธรรดาสาย 25, 102 และ 145 ไปลงตลาดปากน้ำ แล้วต่อรถเมล์เล็กสาย 36, รถสองแถวปากน้ำ-วัดตำหรุ, ปากน้ำ-นิคมบางปู และปากน้ำ-คลองด่านเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับนกนางนวล
นกนางนวลที่มีในอ่าวไทยมีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ นกนางนวลใหญ่ เมื่อบินเหนื่อยแล้วมักลงลอยตัวบนผิวน้ำทะเล และนกนางนวลแกลบ ซึ่งพบในน่านน้ำไทยถึง 15 ชนิด พวกนี้จะไม่ชอบลงลอยบนผิวน้ำทะเล นกนางนวลที่มาอาศัยอยู่ในสถานตากอากาศบางปูเป็นนกที่ทำรังวางไข่อยู่รอบทะเลสาบต่าง ๆ ในทิเบตและมองโกเลียในฤดูร้อน (ตรงกับฤดูฝน ในประเทศไทย) พอลูกโตแข็งแรงสามารถบินได้ในระยะไกลแล้ว จะพากันบินลงมาหากิน ตามชายทะเลในมหาสมุทรอินเดียจนถึงอ่าวไทย จะย้ายถิ่นมาอ่าวไทยราวต้นเดือนพฤศจิกายน นกนางนวลรุ่นหนุ่มสาวจะมีหัวสีขาว มีจุดสีน้ำตาลคล้ำบริเวณขนคลุมหู พอถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์จะเปลี่ยนสีสันสำหรับเลือกคู่ผสมพันธุ์ โดยเริ่มมีขนสีน้ำตาลดำที่หัว เมื่อได้คู่แล้วก็จะทยอยบินกลับไปวางไข่บนที่ราบสูงใกล้ ๆ ทะเลสาบ ในประเทศทิเบตและมองโกเลียใหม่ มักจะเริ่มบินย้ายถิ่นกลับในราวเดือนเมษายน และพวกสุดท้ายจะกลับปลายเดือนพฤษภาคม นกนางนวลชอบโฉบคาบเศษอาหารและเศษปลาที่ชาวเรือทิ้งลอยไปบนผิวน้ำ ทำให้ของเน่าเหม็นบนผิวน้ำทะเลหมดไป นางนวลจึงเป็นนกที่ทำให้ทิวทัศน์ตามชายทะเลดูสวยงามน่าท่องเที่ยวน่าชมยิ่งขึ้น การเดินทางมาชมฝูงนกนางนวล ที่สถานตากอากาศบางปู จึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ทำผู้ที่ได้พบเห็นเบิกบานสำราญใจ ทำให้รู้ว่าฤดูฝนได้ผันผ่านไป ฤดูหนาวกำลังจะมาเยือน ลมทะเลพัดเบา ๆ กับบรรยากาศยามเย็นจอดรถชมทิวทัศน์พระอาทิตย์อัสดง และฝูงนกนางนวลที่บินอวดโฉมกางปีกสวยให้เราได้ชมอย่างใกล้ชิดบนสะพานสุขตา
วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553
วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553
ช้างเอราวัณ
สถานที่: Erawan Museum
ที่ตั้ง: ถนนสุขุมวิท ขาเข้าจังหวัดสมุทรปราการ
เวลาทำการ: 8 นาฬิกา - 18 นาฬิกา
ค่าบัตรเข้าชม: ผู้ใหญ่ 150 บาท, เด็ก 50 บาท 50 บาท สำหรับค่าผ่านประตูโดยไม่เข้าชมภายในตัวพิพิธภัณฑ์
เลื่อนลงเพื่อดูอัลบั้มภาพและแผนที่ทางอากาศ
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 12 ไร่ ของบริษัท ธนบุรีประกอบยนต์ จำกัด ตำบลบางเมืองใหม่ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สร้างจากแรงบันดาลใจ และความคิดของ คุณเล็ก วิริยะพันธ์ ผู้สร้างเมืองโบราณ จ.สมุทรปราการ และปราสาทสัจธรรม เมืองพัทยา จ.ชลบุรี เพื่อให้เป็นสถานที่เก็บรักษาศิลปวัตถุ มรดกทางวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ และเพื่อสืบสานอนุรักษ์งานศิลป์ไทยให้คงอยู่สืบชั่วลูกชั่วหลานสืบไป ช้างเอราวัณหรือช้างสามเศียร เป็นประติมากรรมลอยตัวด้วยวิธีเคาะมือแห่งแรกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำจากโลหะทองแดง แผ่นเล็กสุดขนาดเท่าฝ่ามือนำมาเรียงต่อกันด้วยความประณีตนับแสนชิ้น ตัวช้างรวมอาคารมีความสูง 43.60 เมตร (หรือสูงขนาดตึก14-17ชั้นโดยประมาณ) อาคารพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ ส่วนบนของตัวช้าง เฉพาะส่วนหัวมีน้ำหนักประมาณ 100 ตัน ลำตัวช้างหนัก 150 ตัน สูง 29 เมตร กว้าง 12 เมตร และยาว 39 เมตร ตัวช้างออกแบบให้เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงวัตถุมีค่า เช่น ภาพวาดสีฝุ่นรูปจักรวาล พระพุทธรูปปางลีลา บริเวณท้องช้างปูด้วยไม้มะเกลือสีออกดำ ส่วนล่างของตัวช้าง เป็นฐาน โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก อาคารศาลามีความสูง 14.60 เมตร กระจายน้ำหนักตัวช้างด้วยคานวงแหวนรอบนอกและรอบในบนอาคาร ถ่ายน้ำหนักลงเสาแปดเสาภายนอกและสี่เสาภายในอาคารศาลาการตกแต่งภายในเป็นการ ผสมผสานศิลปะหลากหลายรูปแบบ เช่น การใช้กระจกสีแบบศิลปะตะวันตก, เครื่องเบญจรงค์สลับลวดลายสอดสี, การดุนโลหะบนแผ่นดีบุกของช่างเมืองนครศรีธรรมราช และรูปปั้นโบราณชนิดต่าง ๆ อาทิ คนธรรพ์บรรเลงดนตรี รูปพญานาค ของช่างเมืองเพชร ส่วนชั้นใต้ดินที่เรียกว่า “ชั้นบาดาล” เป็นที่จัดแสดงนิทรรศการและโบราณวัตถุจำนวนมาก อาทิ พระพุทธรูป เทวรูปสมัยต่าง ๆ และเครื่องลายครามของจีน ระเบียงรอบนอกตัวอาคารประกอบด้วยซุ้มแปดซุ้ม รอบพิพิธภัณฑ์เป็นอุทยานพรรณไม้ในวรรณคดี และพันธุ์ไม้หายากจากทุกภูมิภาคของประเทศ มีงานประติมากรรมลอยตัวเรื่อง รามเกียรติ์ วางเรียงรายล้อมรอบอาคาร
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2371 3135-6 โทรสาร. 0 2380 0304
ที่ตั้ง: ถนนสุขุมวิท ขาเข้าจังหวัดสมุทรปราการ
เวลาทำการ: 8 นาฬิกา - 18 นาฬิกา
ค่าบัตรเข้าชม: ผู้ใหญ่ 150 บาท, เด็ก 50 บาท 50 บาท สำหรับค่าผ่านประตูโดยไม่เข้าชมภายในตัวพิพิธภัณฑ์
เลื่อนลงเพื่อดูอัลบั้มภาพและแผนที่ทางอากาศ
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 12 ไร่ ของบริษัท ธนบุรีประกอบยนต์ จำกัด ตำบลบางเมืองใหม่ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สร้างจากแรงบันดาลใจ และความคิดของ คุณเล็ก วิริยะพันธ์ ผู้สร้างเมืองโบราณ จ.สมุทรปราการ และปราสาทสัจธรรม เมืองพัทยา จ.ชลบุรี เพื่อให้เป็นสถานที่เก็บรักษาศิลปวัตถุ มรดกทางวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ และเพื่อสืบสานอนุรักษ์งานศิลป์ไทยให้คงอยู่สืบชั่วลูกชั่วหลานสืบไป ช้างเอราวัณหรือช้างสามเศียร เป็นประติมากรรมลอยตัวด้วยวิธีเคาะมือแห่งแรกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำจากโลหะทองแดง แผ่นเล็กสุดขนาดเท่าฝ่ามือนำมาเรียงต่อกันด้วยความประณีตนับแสนชิ้น ตัวช้างรวมอาคารมีความสูง 43.60 เมตร (หรือสูงขนาดตึก14-17ชั้นโดยประมาณ) อาคารพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ ส่วนบนของตัวช้าง เฉพาะส่วนหัวมีน้ำหนักประมาณ 100 ตัน ลำตัวช้างหนัก 150 ตัน สูง 29 เมตร กว้าง 12 เมตร และยาว 39 เมตร ตัวช้างออกแบบให้เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงวัตถุมีค่า เช่น ภาพวาดสีฝุ่นรูปจักรวาล พระพุทธรูปปางลีลา บริเวณท้องช้างปูด้วยไม้มะเกลือสีออกดำ ส่วนล่างของตัวช้าง เป็นฐาน โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก อาคารศาลามีความสูง 14.60 เมตร กระจายน้ำหนักตัวช้างด้วยคานวงแหวนรอบนอกและรอบในบนอาคาร ถ่ายน้ำหนักลงเสาแปดเสาภายนอกและสี่เสาภายในอาคารศาลาการตกแต่งภายในเป็นการ ผสมผสานศิลปะหลากหลายรูปแบบ เช่น การใช้กระจกสีแบบศิลปะตะวันตก, เครื่องเบญจรงค์สลับลวดลายสอดสี, การดุนโลหะบนแผ่นดีบุกของช่างเมืองนครศรีธรรมราช และรูปปั้นโบราณชนิดต่าง ๆ อาทิ คนธรรพ์บรรเลงดนตรี รูปพญานาค ของช่างเมืองเพชร ส่วนชั้นใต้ดินที่เรียกว่า “ชั้นบาดาล” เป็นที่จัดแสดงนิทรรศการและโบราณวัตถุจำนวนมาก อาทิ พระพุทธรูป เทวรูปสมัยต่าง ๆ และเครื่องลายครามของจีน ระเบียงรอบนอกตัวอาคารประกอบด้วยซุ้มแปดซุ้ม รอบพิพิธภัณฑ์เป็นอุทยานพรรณไม้ในวรรณคดี และพันธุ์ไม้หายากจากทุกภูมิภาคของประเทศ มีงานประติมากรรมลอยตัวเรื่อง รามเกียรติ์ วางเรียงรายล้อมรอบอาคาร
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2371 3135-6 โทรสาร. 0 2380 0304
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)